วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการปูหญ้านวลน้อย, หญ้ามาเลเซีย, หญ้าญี่ปุ่น
การปูหญ้านวลน้อยหรือว่าหญ้ามาเลหรือหญ้าญี่ปุ่นนั้นมีหลักการหลักๆที่เหมือนกันทุกประการครับดังนั้นทำตามวิธีที่ผมบอกก็สามารถเอาไปใช้ปูหญ้าได้ทุกชนิดครับ

วัสดุอุปกรณ์(มีไม่มีก็ได้)
1.ลูกกลิ้งบดอัดพื้น บอกแล้วนะครับว่ามีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าหากว่าเราปูหญ้าในสนามหน้าบ้านของเราเอง ไม่ได้ซีเรียสอะไรมากก็ใช้จอบปรับแต่งดินให้เรียบใช้จอบทุบๆอัดเอาก็ได้ครับ

2.ทรายขี้เป็ด อันนี้ถือว่าจะเป็นนะครับหากเราจะปรับสภาพพื้นที่ที่ค่อนข้างใหญ่ ทรายขี้เป็ดนี้หาซื้อได้จากร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปครับมันเป็นทรายปนดินหรือเรียกว่าทรายถมที่ ทรายแบบนี้เอาไปผสมปูนไม่ได้ครับจะมีราคาถูกกว่าทรายธรรมดาและมีแร่ธาตุเหมาะกับการปลูกหญ้าครับ แต่ถ้าหากว่าพื้นที่ๆเราปลูกเป็นดินร่วน ถามว่าจะไม่โรยทรายขี้เป็ดเลยได้ไหมถ้าถามผมผมก็ว่าได้ครับ

ขั้นตอนการปูหญ้า
1.เริ่มจากการปรับสภาพพื้นดินให้เรียบจนเราพอใจก่อนครับ บางคนอาจจะเล่นเป็นเนินโค้งสวยๆก็ไม่ว่ากันครับ แล้วแต่ชอบ

2.จากนั้นโรยทรายขี้เป็ดให้ทั่วบางๆครับ ใช้จอบเกลี่ยๆไปให้ทั่ว ดินเราจะได้มีสารอาหารอร่อยๆให้หญ้าครับ

3.รดน้ำให้ทั่วจนสภาพพื้นที่มีความชุ่มชื้นและอ่อนนุ่ม สำคัญนะครับย้ำว่าดินต้องนุ่มๆเลย

4.เตรียมหญ้านวลน้อยหรือหญ้ามาเลที่จะปูมาวางให้เต็มพื้นที่ ส่วนเกินก็ฉีกออกให้สวยงามครับ

5.จากนั้นกดหญ้าที่เราเพิ่งจะปูลงไปเมื่อกี้ให้ติดกับดินครับ นี่คือเหตุผลที่ผมบอกให้รดน้ำให้ชุ่มจริงๆครับ พยามกดให้รากหญ้าติดดินให้ได้นะครับ ใครมีลูกกลิ้งหรืออะไรใช้ได้ก็เอามาใช้ได้เลยครับ

6.ดูความเรียบร้อย แล้วรดน้ำตามให้ชุ่มเป็นอันเสร็จพิธีครับ

หลังจากนี้ก็คอยรดน้ำทุกๆวันชุ่มๆหน่อย สัก1อาทิตย์ต้นหญ้าก็น่าจะเดินรากแล้วครับ
ชื่อท้องถิ่น: นวลน้อย
 

ลักษณะวิสัย: ไม้คลุมดิน

ลักษณะ:

เป็นพืชคลุมดินเป็นหญ้าที่นิยมนำมาปลูก กลางแจ้งมากที่สุดในเมืองไทย ชอบความชื้นสูงสามารถปรับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนร้อนและแห้งแล้งได้ดี ใบสีเขียวเข้มมีขนเล็กๆ ใบแคบเรียวยาวตัดแต่งรูปทรงได้ดี สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียวหรือดินปนทราย แหล่งปลูกที่สำคัญ มีปลูกกันมาแถวมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง
โดยเกษตรกรจะปลูกและตัดมาขายเป็นแผ่น ตารางเมตรละ 18 -30 บาท และยังเป็นสินค้าส่งออก

หญ้านวลน้อยขยายพันธ์
โดยการ เพาะเมล็ดและการปักชำที่ลำต้น เนื่องจากเป็นหญ้าที่ขึ้นได้ง่าย และเจริญเติบโตเร็ว เวลาตัดแต่งจะเหมือนพรม เวลาย่ำก็จะนุ่มเท้าจึงเป็นที่นิยมนำมาปลูกสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สนามกอล์ฟ สถานที่ราชการ สวนหย่อมร้านอาหาร โรงแรม ในสนามกอล์ฟใหญ่ๆ ใช้ทำ กรีน (Green) ซึ่งเป็นที่ตีลูกกอล์ฟลงหลุม ใช้ทำบริเวณ (tee) ซึ่งเป็นที่เริ่มต้น เล่นกอล์ฟ ตลอดจนปลูกเป็นทางตีกอล์ฟ (Fair way) หญ้านวลน้อยเป็นหญ้าที่โตเร็วควรตัดแต่งบ่อยมิฉะนั้นมันมักจะออก

ดอกทำให้สนามดูเป็นสีดำไม่สวย

การกระจายพันธุ์: ใช้ลำต้นมากกว่าเมล็ด

ประโยชน์: นิยมปลูกเป็นสนามนั่งเล่น และใช้จัดสวนโดยทั่วไป
 
หญ้านวลน้อย (Manila Grass)
หญ้านวลน้อยหญ้านวลน้อย เป็นหญ้าพื้นเมืองของไทย เป็นหญ้า ที่นิยมปลูกกันมาก สามารถขึ้นได้ดีในดิน เกือบทุก ชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว หรือดินปนทราย และยัง ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีได้ง่าย นอกจากนี้ ยังทนต่อร้อนและแห้งแล้ง หรือที่น้ำท่วมขังแฉะ ได้เป็นครั้งคราว จึงนิยมปลูกกันมาก
เป็นหญ้าที่จัดอยู่ในประเภทใกล้เคียงกับหญ้าญี่ปุ่น แต่มีใบกว้างกว่า และการเจริญเติบโตเร็วกว่า ใบไม่แข็งกระด้าง เหมือนหญ้าญี่ปุ่น หญ้าชนิดนี้ ขึ้นง่าย และเจริญเติบโต เป็นแผ่นได้เร็วพอสมควร แต่ช่อดอกค่อนข้างยาว และเห็นได้ชัด ซึ่งจะขอกล่าวถึง ลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ลำต้น จะตั้งและแข็งแรง มีลำต้นใต้ดินมาก ปลูกง่ายแตกกอได้เร็ว มีปล้องสั้น และลำต้นยืดหยุ่นตัวดี
2. ใบ มีขนาดปานกลาง สีเขียวอ่อน ใบจะยืดหยุ่นตัวดีเช่นกันในเวลาที่เหยียบย่ำ แวลาเดินแล้วจะนุ่มเท้า ขึ้นคลุมดินได้แน่นดี ใบนุ่มกว่าหญ้าญี่ปุ่น และไม่ระคายผิวหนัง เมื่อตัดเรียบร้อยแล้วดูกล้ายพรม
3. ช่อดอก ค่อนข้างยาว และดอกมีสีน้ำตาลดำเห็นได้ชัดในเวลาออกดอก
หญ้านวลน้อยนี้ ชอบขึ้นในที่กลางแจ้ง แต่ในที่ร่มมีแดดพอเพียงก็สามารถขึ้นได้ ถ้าไม่ตัดหญ้านี้เลยจะสูงประมาณ 6 นิ้ว เป็นหญ้าที่ทนต่อ การเหยียบย่ำ ทนต่อความแห้งแล้งหรือน้ำขังแฉะเป็นครั้งคราว ตลอดจนทนต่ออุณภูมิสูงได้ดี แต่ในฤดูแล้งต้อง หมั่นรดน้ำ อยู่เสมอมิฉะนั้นใบจะเหลืองแต่ไม่ถึงตาย นอกจากนี้ทนต่อดินเค็มได้บ้าง รวมทั้งยังต้านทานต่อโรงแมลงได้ดี
ใช้ทำสนามหญ้าทั่วไป เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ สวนหย่อมในบริเวณบ้าน โรงแรม สวนอาหาร บริษัทร้านห้างใหญ่ ๆ ในสนามกอล์ฟ ใช้ทำกรีน (Green) ซึ่งเป็นที่ตีลูกกอล์ฟลงหลุม ใช้ทำบริเวณ (Tee) ซึ่งเป็นที่เริ่มต้นตีกอร์ฟ ตลอดจนปลูกบนทางตีกอล์ฟ (Fair Wap) นอกจากนี้ยังใช้ในการจัดสวนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นหญ้าที่ทนการเหยียบย่ำ รวมทั้งเป็นหญ้าที่ดูแลรักษาง่าย กว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ ถึงแม้จะปล่อยปละ ละเลยไปบ้าง เมื่อกลับมาดูแลรักษาใหม่ ก็ยังจะได้สนามหญ้าที่มีคุณภาพดีเหมือนกัน
การตัดหญ้า
ควรตัดในระยะ 0.75 - 1.5 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 1 - 2 สัปดาห์ เพราะด้วยเหตุที่ว่า หญ้านี้จะมีช่อค่อนข้างยาว ดอกมีสีน้ำตาลออกดก จึงทำให้สนามหญ้าไม่สวยในเวลาออกดอก จำเป็นต้องคอยระวังกำจัดช่อดอกให้หมด ในช่วงฤดูกาลออกดอก เครื่องตัดหญ้าทั่ว ๆ ไปก็ใช้ได้ แม้กระทั่งกรรไกร หรือรถเข็นหญ้าก็ได้
การขยายพันธุ์
ใช้ลำต้นปลูก เพราะขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นหญ้าที่มีเมล็ดน้อย จึงไม่มีผู้ผลิตเมล็ดจำหน่าย
ข้อดี เป็นหญ้าที่ปลูกใช้ประโยชน์ได้ทั่วไป ใบมีขนาดกลางและนุ่มเท้า ทนต่อการเหยียบย่ำ ทนแล้ง และทนร่มบ้าง การดูแลรักษาก็ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น ๆ
ข้อจำกัด ถ้าปล่อยให้หญ้าออกดอก ดอกของหญ้าเมื่อแก่จะเป็นสีดำ ดูแล้วสนามไม่สวย ถ้าปลูกในที่ร่มเงามากเกินไปจะไม่ได้ผล เพราะต้นหญ้าจะยาวมาก
ข้อแนะนำ ควรตัดหญ้าตามกำหนด ไม่ควรปล่อยให้มีดอก


Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Grass-102.htm#ixzz2FsQdcBwy
 
หญ้าญี่ปุ่นนี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบแมนจูเรีย ซึ่งบางที่ก็เรียก Kerean Lawngrass เนื่องจากมีการนำเมล็ด เข้าไปในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2473 แต่ภายหลังนิยม เรียกกันว่า japanese Lawngrass มากกว่า ซึ่งก็คงเนื่องจากอิทธิพล ของการจัดสวนญี่ปุ่น ที่ใช้หญ้าชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบใหญ่ ก็เลยเรียกว่า หญ้าญี่ปุ่น ติดปากกันมาทุกวันนี้
เป็นหญ้าที่เจริญเติบโต ได้ดีในเขตร้อน แต่สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตหนาว และแห้งแล้ง ซึ่งมีการเจริญ เติบโตดีพอสมควร แต่ปลูกในที่ชื่น หรือที่เฉาะไม่ดีนัก กล่าวคือ สามารถทนร่มได้ 50 % ในดินเค็มก็พอจะ ปลูกได้แต่ก็ไม่ดีนัก ดินที่เหมาะสมกับหญ้านี้ ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ 6 - 7 และ หญ้าก็ยัง ชอบขึ้นในดินเหนียวด้วย
หญ้าญี่ปุ่น มี 2 ชนิด
1. ชนิดใบกว้าง จะมีใบประมาณ 4 มิลลิเมตร
2. ชนิดใบกลม ใบเล็กและละเอียดกว่า ซึ่งเป็นที่นิยมปลูกในประเทศไทยมาก
หญ้าญี่ปุ่นลักษณะของหญ้าญี่ปุ่น
ลำต้น เป็นพวกเลื้อยตามดิน และลำต้นจะตั้งแข็งทั้งลำต้นบนดิน และลำต้นใต้ดิน
ใบ ใบสีเขียวเข้ม ใบเล็กละเอียดกลมแข็ง ปลายใบแข็งและแข็งกระด้างเวลาสัมผัสจะระคายผิวหนัง ขอบใบเรียบไม่มีขน
ดอก ช่อดอกสั้น ดอกเล็ก และมีสีน้ำตาลออกดำ ดอกจะรวมกันแน่นบนก้านดอก ดอกจะบานจากส่วนล่างขึ้นบน
หญ้าญี่ปุ่นนี้ ต้องการน้ำมาก และการเจริญเติบโดช้า ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะขึ้นเต็มสนาม ถ้าแห้งแล้งนาน ๆ หรือขาดน้ำใบจะเหลืองทันที
เป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยีบย่ำพอสมควร และไม่ค่อยยืดหยุ่นตัวเหมือนหญ้านวลน้อย
เป็นหญ้าที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ทนต่ออากาศหนาวได้ดี อาจทนได้ถึงประมาณ 10 - 20 องศาฟาเรนไฮด์ ทนต่อโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่น
หญ้าญี่ปุ่นนี้เจริญเติบโตช้า แต่เมื่อขึ้นแล้วจะหนาแน่นมาก ขึ้นคลุมดินวัชพืชไม่สามารถขึ้นแข่งได้ การแต่งไม่บ่อยนัก เพราะเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเป็นกระจุก การตัดแต่งลำบาก
การตัดแต่ง
หญ้าญี่ปุ่นชนิดนี้จำต้องตัดให้สั้นประมาณ 0.5 - 1.0 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 5 - 10 วัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานวัน หญ้าจะขึ้นเป็นจุก เมื่อตัดหญ้าจะมีสีเหลืองเป็นหย่อม ๆ มองดูแล้วหน้าเกลียด ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ เนื่องจากหญ้าญี่ปุ่นมีลำต้นและใบแข็งกระด้างมาก ดังนั้นการใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องมีกำลังสูง และมีใบมีด ที่คมมาก ใช้กรรไกรดัตไม่กี่วันก็หมดแรง เพราะมันขึ้นเป็นกระจุกทำให้ตัดยาก ลำต้น และใบก็เหนี่ยวด้วย ซึ่งทำให้กินแรงใน การตัดมาก แม้กระทั่งใช้ เครื่องตัดหญ้า ก็ต้องลับมีดบ่อยครั้ง เพื่อให้คมอยู่เสมอ
การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และใช้ส่วนต่าง ๆ ปลูก เช่น ลำต้น เหง้า ไหล แต่นิยมกันมากก็ใช้ส่วนต่าง ๆ โดยปลูกแยกต้นปลูก การปลูกเป็นกระจุก และการปูเป็นแผ่น ๆ ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดไม่นิยมเพราะการเจริญเติบโตช้ามาก
ข้อดี เป็นหญ้าที่เล็กมองดูแล้วสวยงามดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นสวนหย่อม และพื้นที่ก็ควรไม่กว้างมากนัก และใช้ปลูกในบริเวณ ที่เป็นทางเข้าได้ดี เพราะสามารถป้องกัน และควบคุมไม่ให้บุกรุกบน ทางเท้า ได้ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น
ข้อจำกัด ใบหญ้าจะแข็งกระด้าง และปลายใบเล็กเรียวแหลม ทิ่มตำระคายผิวหนัง การตัดลำบากและกินแรงมาก


Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Grass-103.htm#ixzz2FsQuGAl5
 

วิธีการปลูกหญ้า

การปลูกหญ้ามีหลายวิธี ซึ่งก็แล้วแต่ความสะดวก ความพอใจ และความต้องการของผู้จะปลูก ตลอดจนเงินทุนในการเตรียมดิน ค่าพันธุ์หญ้า และอื่น ๆ การปลูกหญ้า โดยทั่วไปมี 5 วิธี ดังนี้

การปลูกโดยใช้เมล็ด การปลูกหญ้าแบบแผ่นเล็ก ๆ การปลูกแบบหว่าน การปลูกหญ้าเป็นแผ่น ๆ การปลูกแบบแยกต้น
การปลูกหญ้าแบบแยกต้น หรือการปักดำเป็นแถว
วิธีนี้ใช้ส่วนของลำต้นที่เรียกว่า ไหล (Stolon) ปลูก วิธีนี้สิ้นเปลื้องน้อยในกรณีที่ได้หญ้ามาจำนวนจำกัด แต่จะเสียเวลาในการปลูกนานกว่าจะขึ้นเต็มสนาม เหมาะสำหรับหรับการปลูกหญ้าพวก หญ้านวลน้อย หญ้านวลจันทร์ หญ้าแพรก ซึ่งเป็นหญ้าที่เจริญเติบโตเร็ว ใช้สำหรับปลูกหญ้าในสนามใหญ่ ๆ ส่วนหญ้าญี่ปุ่น ก็ใช้วิธีีนี้ได้ แต่ต้องปลูกชิดกว่าหญ้าชนิดอื่น เท่าตัว
วิธีการปลูกมีดังนี้วิธีการปลูกหญ้า
  1. หลังจากปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ก็รดน้ำให้ชุ่มชื้น ใช้ดินเลนจากท้องร่องมาละเลงสนามที่จะปลูกให้ทั่ว ๆ
  2. นำหญ้ามาฉีกเป็นกอเล็ก ๆ จะเรียกว่าฉีกปลูก หรือแยกปลูกก็ได้
  3. ทำร่องบนเลน โดยขุดเป็นร่องเล็ก ๆ ทำให้เป็นแถวยาว ๆ ให้ระยะห่างแถวพอประมาณ
  4. นำหญ้าที่ฉีกไปวางในร่องที่ขุดไว้ แล้วกลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ลำต้นของหญ้า เกาะติดกับดินเลน ซึ่งลำต้นของหญ้าที่กล่าวมานี้ จะมีรากติดมาด้วย
  5. เมื่อปลูกแล้วต้องรดน้ำให้ดินชุมชื้นอยู่เสมอ และเมื่ออายุ 15 - 30 วัน ก็ต้องให้ปุ๋ยยูเรียช่วยเร่งในการเจริญเติบโต
  6. เมื่อหญ้าอายุได้ประมาณ 3 - 4 เดือน ก็จะขึ้นเต็มสนาม ควรดูแลในระยะแรกให้ดีิ ฉะนั้นเปอร์เซนต์การตายของหญ้าจะสูงกส่าวิธีอื่น
  7. ในช่องว่างที่ไม่ได้ปลูกหญ้า ก็ต้องคอยระวังไม่ให้วัชพืชขึ้น ดังนั้นจึงต้องหมั่นคอยถอน วัชพืชอยู่เสมอด้วย
  8. การดูแลต้องดูแลในระยะแรก ๆ ให้ดีมิฉะนั้นเปอร์เซนต์การตายจะมากกว่าวิธีอื่น


Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Grass-112.htm#ixzz2FsRFZaan

ขั้นตอนการปลูกหญ้า

การเตรียมดินเพื่อทำสนามหญ้าที่พบเห็นกันโดยทั่วไปมักจะทำอย่างง่าย ๆ คงเห็นมันเพียงต้นหญ้า ปลูกอย่างไรมันก็ต้องขึ้น รดน้ำให้สม่ำเสมอก็ใช้ได้ ตอนแรกหญ้าจะเขียวขจีดี เพราะว่ายังมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์อยู่ ต่อมาอีกไม่กี่เดือน สภาพสนามก็จะเปลี่ยนไป กล่าวคือมีวัชพืชชนิดอื่น ๆ ขึ้นแซมหญ้าที่ปลูก หญ้าบางกลุ่มมีสีเหลืองปนเขียว บางแห่งมีใบที่เหี่ยวเฉามีลักษณะที่ค่อนข้างจะทรุดโทรม ถึงแม้ว่าจะรดน้ำมากสักเพียงใดก็ไม่อาจฟื้นกลับมางอกงามเหมือนดังเดิม
การเตรียมดิน | การปรับปรุงดิน | การปรับพื้นที่
การเตรียมพื้นที่ --> การเตรียมดิน
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก การเตรียมดินที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
  1. ในตอนที่เตรียมดินไม่ได้ขุดเอาหัวเหง้า และรากออกให้หมด เมื่อได้รับน้ำวัชพืชเหล่านั้นก็จะแตกหน่อ แตกยอดเจริญออกมา ปะปนกับหญ้าที่ปลูก ทำให้สนามหญ้าขาดความสวยงาม
  2. สภาพดินเดิมซึ่งแน่นทึบ น้ำไม่สามารถแซกซึมลงไปในดินโดยสะดวกเมื่อรดน้ำมากหรือมีฝนตกชุก น้ำก็จะท่วมขังบริเวณผิวดิน ทำให้รากหญ้าขาดอากาศเพื่อหายใจ ไม่มีพลังในการดูดน้ำ และธาตุอาหารที่ส่งไปเลี้ยงส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน ต้นหญ้าก็จะแสดงอาการว่าขาดน้ำ คือ เหี่ยวเฉา
  3. สภาพดินเดิมแน่นทึบ จะทำให้รากหญ้าชอนไชเพื่อหาน้ำและอาหารได้ด้วยความลำบาก จึงทำให้ต้นหญ้าได้รับน้ำ และอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
  4. ถ้าดินเดิมมีสภาพเป็นดินทรายจัดซึ่งโดยปกติจะมีธาตุอาหารน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการขอพืช ดินในลักษณะนี้ จะไม่อุ้มน้ำ ไม่อุ้มปุ๋ย ทำให้ต้นหญ้าขาดทั้งน้ำและขาดทั้งปุ๋ย ต้นหญ้ามีสภาพที่แคระแกร็น สีสันไม่เขียวขจี ไม่สวยงามเท่าที่ควร
    ดังนั้นการเตรียมดินจะต้องทำอย่างละเอียดรอบครอบมิฉนั้น ผลที่ได้รับขั้นสุดท้ายก็คือ สนามหญ้ามีสภาพที่ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ยากแก่การแก้ไข ในไม่ช้าก็ต้องรื้อทิ้งและปลูกใหม่ ทำให้ต้องเสียเงินเสียทองอย่างน่าเสียดาย
การเตรียมดินเพื่อปลูกหญ้าก็ควรยึดหลักเดียวกับการปลูกต้นไม้โดยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ จะต้องเตรียมดินให้โปร่ง มีการระบายน้ำที่ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก ขุดเก็บ ต้น หัว เหง้า และราก ของวัชพืชออกให้หมด เติมปุ๋ยอินทรีในปริมาณที่เพียงพอ ผสมรวมไปกับดิน ปุ๋ยอินทรีนอกจากจะให้อาหารแก่ต้นหญ้าแล้ว หลังจากนั้นก็นำแผ่นพันธุ์มาปลูก ผลที่ได้รับก็คือ ได้สนามหญ้าที่มีต้นหญ้าอยู่อย่างหนาแน่น มีสีเขียวสดใสสม่ำเสมอ ทั้วทั้งสนามในทุกฤดูกาล สร้างความสวยงามและความภาคภูมิใจให้แก่เจ้าของบ้านเป็นอย่างยิ่ง
การเตรียมพื้นที่ --> การปรับปรุงดิน
ถ้าดินในบริเวณนั้นเป็น ดินเหนียวจัด การระบายน้ำไม่ดี การระบายน้ำไม่ดี และการถ่ายเทอากาศภายในดินไม่สะดวก ควรแก้ไขโดย โรยทรายทับดินเดิมให้หนาประมาณ 5 ซม. (ไม่ควรใส่ปุ๋ยคอก เพราะอาจมีเมล็ดพืชอื่น ๆ ติดมาด้วย) ถ้าดินเดิมมีสภาพเป็น กรดจัด ก็นำปูนบดละเอียดโรยลงไปเพื่อแก้ความเป็นกรด หินปูนบดละเอียด 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แล้วใช่จอบสับย่อยให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ลึกประมาณ 15 - 20 เซนติเมตรก็เพราะหญ้าจะมีรากลึกไม่มากนัก คลุกเคล้าผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน เลือกเก็บต้น หัว เหง้า และรากของวัชพืชออกให้หมด
ถ้าดินในบริเวณนั้น เป็นดินทรายจัด ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่อุ้มน้ำ ไม่อุ้มปุ๋ย จะต้องรดน้ำบ่อย พอนานเข้าทราย ก็จะอัดตัวกันแน่น ทำให้ระบายน้ำไม่ดี อากาศในดินทายเทไม่สะดวก ควรแก้ไขโดยนำดินเหนียว ที่ไม่เป็นกรดจัด และไม่มีเศษวัชพืช มาถมทับดินเดิม ให้หนาประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วใช้จอบสับย่อย ให้ดินแตกเป็นก้อนเล็ก ๆ ลึกลงไปประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร คลุกเคล้าส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากัน เลือกเก็บ ต้น หัว เหง้าและรากของวัชพืชออกให้หมด
การเตรียมพื้นที่ --> การปรับพื้นที่
สนามหญ้าไม่ว่าจะเป็นบนเนินดินหรือที่ราบจะดูแลสวยงามก็ต่อเมื่อราบเรียบเสมอกัน จึงต้องพยายามปรับ ให้เรียบที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ โดยใช้ไม้กระดานยาวประมาณ 70 - 80 เซนติเมตร ประกอบเป็นคราดไม้มีด้ามยาว เกลี่ยดินให้เรียบทั่วบริเวณ ต่อจากนั้นโรยทรายขี้เป็ด ทับหน้าพอบาง ๆ แล้วโรยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ย กทม. หรือปุ๋ยหมัก 1 ปุ้งกี้ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร ให้คราดเกลี่ยให้เรียบอีกครั้งหนึ่ง ก่อนปลูกหญ้าควรพรมน้ำเป็นฝอยให้ดินมีความชื้นพอมาด ๆ อย่าให้แฉะ


Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Grass-111.htm#ixzz2FsRu8hXK
 
 
 

1 ความคิดเห็น: